วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556

หลักการเขียนสีน้ำ

     บทความนี้ผมจะมาบอกเทคนิคเรื่องของการลงสีน้ำนะครับ อย่างที่รู้กันดีหลายคนกลัวการที่จะวาดภาพสีน้ำ และผมคิดว่าคำถามในใจของหลายๆคนคงจะถามว่า วาดภาพสีน้ำยังไงให้สวย , วาดภาพยังไงไม่ให้เสีย....!!!

     ผมจะตอบแบบง่ายๆเลยนะครับ ^^
1.ต้องมีความมั่นใจในตัวเอง (เพราะงานศิลปะ ไม่มีผิดไปทั้งหมดและก็ไม่มีถูกไปซะทุกเรื่องนะครับ)
2.ต้องหมั่นฝึกฝนครับ เมื่อเราฝึกฝนบ่อยจะเกิดความมั่นใจ และจะเจอเทคนิคส่วนตัวของเรานะครับ
   
     และในส่วนของการเขียนภาพสีน้ำนั้นจะทำยังไงเหรอครับ ตอบเลยนะครับ ฮ่าๆ
ในบทความที่ผ่านมาผมได้ แนะนำวิธีการวาดสีน้ำ และแบบฝึกการลงสี แบบง่ายให้แล้วนะครับ (ต้องฝึกฝนบ่อยๆจนสามารถคุมโทนสีและคุมน้ำหนักให้ได้นะครับ) เพราะนี้จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นมากๆๆๆ นะครับ

     ** และอีกส่วนที่สำคัญของการที่จะเป็นตัวแปรที่สำคัญของการวาดภาพสีน้ำนะครับ คือ การใช้โทนสีนะครับ หรือเรียกอีกแบบคือการไล่ระดับแสงเงาของสีนะครับ
   
     และนี้คือเทคนิคง่ายๆแต่สำคัญมากของการไล่แสงเงาของการวาดภาพสีน้ำนะครับ


 จากภาพตัวอย่างนี้เราลองมาแยกโทนสีกันดูก่อนนะครับ ผมจะแยกแบบเข้าใจง่ายไว้อย่างนี้นะครับ


ผมได้แยกออกเป็น 4 จุดนะครับ คือ
1.วงกลมสีขาว คือ โทนอ่อน
2.วงกลมสีเหลือง คือ โทนกลาง
3.วงกลมสีม่วง คือ โทนเข้ม
4.วงกลมสีน้ำเงิน คือ ในส่วนของพื้นหลัง

เมื่อเราสามารถแยกโทนสีได้อย่างนี้แล้ว การเขียนก็ไม่อยากแล้วนะครับ ถ้าท่านสามารถควมคุมการลงสีแบบไล่น้ำหนักสีได้ (สามารถฝึกได้ตามที่ผมได้แนะนำไปแล้วนะครับ ^^)

**แต่จุดที่นักวาดมือใหม่จะมาพลาดมากที่สุดคือ ในส่วนของวงกลมสีม่วง คือ โทนเข้ม นั้นเองครับ**

สาเหตุมาจากอะไรเหรอครับ สาเหตุมาจากเมื่อคุณว่าเป็นจุดที่เข้มที่สุด หลายๆคนก็จะเอา สีดำ ลงไปเลยจะได้เข้มๆเหมือนในแบบ แต่หารู้ไม่นั้นแหละที่จะทำให้ชิ้นงานเสียไปในทันที
     ที่เสียเพราะว่าเวลาผลงานแห้งแล้ว สีดำที่ท่านได้ลงไปนั้นแหละครับ สีมันจะโดดเข้มออกมาจากผลงานของท่านเลย งานจะดูไม่เป็นธรรมชาตินะครับ

    ** วิธีทำที่ถูกต้องคือท่านต้องใช้เทคนิคสีต้องกันข้ามหรือโทนสีใกล้เคียงกันนะครับนะ เมื่อใช้เทคนิคสีตรงกันข้ามหรือโทนใกล้เคียงแล้วในจุดที่เป็นโทนเข้มสีจะเข้มขึ้นมาแล้วผลงานจะดูกลมกลืน สีไม่โดดขึ้นมานะครับ **



** ภาพนี้คือภาพแสดงโทนสีนะครับ **
     **แล้วสีตรงกันข้ามดูยังไง ง่ายๆนะครับ ตัวอย่าง เช่น สีเขียว สีที่ข้ามกับเขียว ก็คือสีแดงนั้นเองครับ ^^
     **แล้วสีที่ใกล้เคียงกับละจะใช้ยังไง ฮ่าๆ ตอบเลยนะครับ อย่างเช่นเมื่อเราลงสีเขียวอยู่ เราต้องการให้สีเขียวเข้มขึ้น ท่านอาจจะใช้โทนสีเขียวที่เข้มขึ้น หรือใช้สีฟ้า หรือสีน้ำเงินนะครับ สีจะเข้มขึ้นมาอีกระดับเลยนะครับ

ดูจากตัวอย่างภาพนะครับ ผมจะยกตัวอย่าง ในส่วนของดทนสีเขียวนะครับ เมื่อเราลงสีเขียวได้ตามที่เราต้องการละเราต้องการได้แสงเงาที่เข้มขึ้น ท่านลองสั่งเกตุในส่วนของใบสีเขียวกับตรงก้านนะครับ จุดที่เป็นแสงเงาเข้ม ท่านอาจจะใช้สีแดง หรือสีฟ้า หรือสีน้ำเงิน สะกิดลงไป จะเกิดแสงเงาตามภาพขึ้นมานะครับ 

     **เทคนิคนี้ลองนำไปฝึกหรือทดลองกันดูนะครับรับรองผลงานของท่านจะดูดีขึ้นและสีจะดูกลมกลืนกันนะครับ ^^

     และในบทความหน้าผมจะมาบอกวิธีการร่างแบบและลงสีให้สมบูรณ์นะครับ เมื่อท่านฝึกฝนมาเต็มที่แล้ว บทความหน้าจะเป็นบทความสุดท้ายของการเขียนภาพสีน้ำนะครับ ^^

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น