วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556

พื้นฐานฝึกวาดภาพสีน้ำ

บทความนี้ผมจะแนะนำแบบฝึกการใช้สีน้ำนะครับ แบบฝึกนี้เป็นแบบฝึกที่จะทำให้คนที่อยากจะลองวาดภาพสีน้ำได้ทำความคุ้นเคยกันการใช้สี และควบคุมน้ำหนักของโทนสีจากโทนอ่อนไปโทนเข้มนะครับ เพราะการควบคุมน้ำหนักสีเป็นสิ่งจำเป็นมากในการวาดภาพสีน้ำนะครับ
     โดยทั่วๆไปแล้วศิลปินหลายๆคนจะมีเทคนิควิธีการที่แตกต่างกันออกไป ตามความถนัดของแต่ละคนนะครับ  โดยหลักการณ์และเทคนิคต่่างๆเหล่านั้นเมื่อฝึกฝนจนชำนาญแล้วจะไม่ไม่ขั้นตอนตายตัวนะครับ ^^ 
     โดยหลักๆแล้วจะมีวิธีการเขียนสีน้ำอยู่ 3 รูปแบบด้วยกัน คือ
1.เขียนด้วยวิธี แห้งกับเปียก คือ กระดาษที่แห้งแล้วเขียนด้วยสีที่ผสมน้ำแล้วหรือเรียกว่า เปียก นั้นเองนะครับ จึงเรียกว่าเขียนแบบแห้งกับเปียกนะครับ
2.เขียนด้วยวิธี เปียกกับเปียก คือ กระดาษที่เปียกแล้วเขียนลงด้วยสีที่ผสมน้ำแล้วนะครับ วิธีนี้ก่อนวาดอาจจะเอาพู่กันเบอร์ใหญ่จุ่มน้ำแล้วนำไปปาดลงบนกระดาษแล้วค่อยลงสีนะครับ
  *ปล.เทคนิคนี้ส่วนตัวผมแล้วชอบใช้วาดบริเวณพื้นหลัง หรือพวกท้องฟ้า หรือบริเวณพื้นที่กว้างๆนะครับ เพราะสีจะซึมเข้าหากันได้สวย และประหยัดเวลานะครับ ^^
3.เขียนด้วยวิธีแห้งกับแห้ง คือกระดาาที่แห้งแล้วเขียนลงด้วยสีที่ผสมน้ำแล้ว แต่น้ำน้อยนะครับ วิธีนี้สีจะเข้มการปกตินะครับ 
  *ปล.เทคนิคนี้ ผมชอบเอาไว้ใช้ในขั้นตอนสุดท้ายนะครับ หรือจะเรียกได้ว่าเป็นการเก็บรายละเอียดนั้นเอง เช่น เราต้องการเขียนกิ่งไม้ให้ชัด หรือเอาไปเป็นการตัดเส้นเป็นบางจุดนั้นเองนะครับ ^^

ซึ่ง 3 หลักการนี้เป็นหลักการเขียนภาพสีน้ำที่นิยมใช้กันนะครับ
และต่อไปเป็นวิธีฝึกการลงน้ำหนัก อยากที่ผมได้บอกไปข้างต้น ควรที่จะลงน้ำหนักจากอ่อนไปหาเข็มนะครับ


จากภาพตัวอย่างจะเห็นการลงน้ำหนักสี 5 โทนสีด้วยกันนะครับ คือ
1.กลุ่มโทนสีเหลือง
2.กลุ่มโทนสีฟ้า
3.กลุ่มโทนสีแดง
4.กลุ่มโทนสีเขียว
5.กลุ่มโทนสีน้ำตาล

นี้เป็นแบบฝึกการลงน้ำหนักสี สำหรับคนที่กำลังจะลองวาดต้องนำไปทดลองฝึกนะครับ เพื่อที่จะสามารถควบคุมน้ำหนักสีได้ และเมื่อฝึกจนเริ่มคล่องละอาจจะมีการสอดแทรกสีอื่นเข้าไปดูก็ได้นะครับ จะได้เป็นการฝึกการผสมสีไปในตัวนะครับ แล้วจะได้รู้ว่าการซึมเข้าหากันของสีมีความสวยงายยังไงนะครับ 

ยังไงก็ลองทำไปทดลองวาดกันดูนะครับ ขอให้มีความสุขกับการวาดกันทุกคนนะครับ ^^
 แล้วครั้งหน้าผมจะกลับมาแน่นำในเรื่องการวาดภาพจากหุ่นนิ่งอีกทีนะครับ
 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น